ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
กองความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ฝ่ายบริหารงานสนับสนุน ท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย
ด้วยความมุ่งมั่นของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่จะพัฒนาการให้บริการขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยการประยุกต์ใช้ระบบการบริหารจัดการท่าเรือที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถแข่งขันกับท่าเรืออื่นได้ รวมทั้งบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยให้ความสำคัญ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมควบคู่
ไปด้วย โดยกำหนดไว้ในนโยบายหลักของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ไปด้วย โดยกำหนดไว้ในนโยบายหลักของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ปัจจุบันการปฏิบัติงานของท่าเรือกรุงเทพทุกกิจกรรม ได้คำนึงถึงความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อกำหนดระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการขนส่งสินค้า โดยจัดตั้งกองความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อกำหนดนโยบาย วางแผน จัดการแผนงาน โครงการ มาตรการกำกับดูแล และตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้คำปรึกษา
แนะนำด้านวิชาการ รวบรวมกฎ ระเบียบ และข้อมูลต่างๆ สำหรับใช้ในการบริหารจัดการต่อไป
แนะนำด้านวิชาการ รวบรวมกฎ ระเบียบ และข้อมูลต่างๆ สำหรับใช้ในการบริหารจัดการต่อไป
กองความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มีหน่วยงานในสังกัด 2 หน่วยงาน ได้แก่ แผนกความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และแผนกสิ่งแวดล้อม
หน้าที่ความรับผิดชอบของแผนกความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
กำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายและวางแผนดำเนินงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล จัดทำ ปรับปรุง
ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศของ กทท. ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ของประเทศ และข้อกำหนดอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ คำสั่ง ประกาศของ กทท. ให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ของประเทศ และข้อกำหนดอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
หน้าที่ความรับผิดชอบของแผนกสิ่งแวดล้อม
กำหนดนโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ วางแผนการดำเนินงานด้านงาน
สิ่งแวดล้อม จัดทำปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ คำสั่งให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ และข้อกำหนดอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ให้คำปรึกษา
คำแนะนำ และวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม จัดทำปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบ คำสั่งให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ และข้อกำหนดอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ให้คำปรึกษา
คำแนะนำ และวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม