ส่วนที่ 1
ส่วนที่ 1 ค่าภาระและค่าบริการเรียกเก็บจากเจ้าของเรือ หรือตัวแทนเจ้าของเรือ
101. ค่าภาระเรือเข้าท่า (Port Dues)
เป็นค่าใช้ร่องน้ำ เครื่องหมายการเดินเรือและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือเข้าออกอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพ ของเรือที่มีขนาดตั้งแต่ 750 GRT. หรือ GT.ขึ้นไป เรียกเก็บเฉพาะเที่ยวขาเข้า ในอัตราดังนี้
|
|
บาท/GRT.,GT.
|
101.1.
|
เรือที่มีขนาด 750 - 2,250 GRT. หรือ GT.
|
5.00
|
101.2.
|
เรือที่มีขนาดเกิน 2,250 GRT. หรือ GT.
|
10.00
|
เรือสินค้าทั่วไปที่ผ่านร่องน้ำในรอบปีเกินกว่า 6 เที่ยว หรือ เรือน้ำมันและเรืออื่น ที่ผ่านร่องน้ำเกินกว่า 8 เที่ยวในรอบเดือน เรียกเก็บค่าภาระเรือเข้าท่าเที่ยวถัดไป ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราที่กำหนดข้างต้นเรือราชการไทย เรือรบต่างประเทศ ไม่ต้องเสียค่าภาระรายการนี้
102. ค่าบริการเรือลากจูง (TUG Service)
เป็นค่าใช้เรือลากจูง ในการให้บริการเรือเข้าหรือออกจากท่า เรียกเก็บตามขนาดของเรือที่ใช้บริการต่อเรือลาก จูงหนึ่งลำต่อครั้งในอัตรา 0.04 บาท / GRT.,GT. / ชั่วโมง
ค่าบริการขั้นต่ำต่อเรือลากจูง 1 ลำ ต่อครั้ง เรียกเก็บในอัตราดังนี้
|
บาท / ชั่วโมง
|
เรือลากจูงต่ำกว่า 2,000 แรงม้า
|
3,000
|
เรือลากจูงตั้งแต่ 2,000 แรงม้าขึ้นไป
|
6,000
|
การนับระยะเวลาให้นับตั้งแต่เรือลากจูงออกจากท่าจนกลับถึงท่า
กรณีใช้เรือลากจูงในการลากเรือเกยตื้น หรือพยุงเรือที่เครื่องจักรไม่สมบูรณ์ หรือแก้ไขสมอเรือพันกัน หรือ บริการอื่นภายในอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพ อัตราค่าบริการคิดเป็น 2 เท่า
การขอเลื่อนหรือขอยกเลิกการใช้บริการ ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ก่อนถึงเวลาที่แจ้งขอรับบริการไว้ มิฉะนั้นต้องชำระค่าบริการเรือลากจูง ตามอัตราค่าบริการขั้นต่ำที่กำหนดไว้เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
การขอใช้เรือลากจูงนอกอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพ ให้ทำความตกลงเป็นรายๆ ไป
103. ค่าภาระการใช้ท่าของเรือ (Berth Hire)
เป็นค่าใช้ที่จอดเรือของท่าเรือกรุงเทพในการจอดเรือ รวมทั้งค่าบริการใช้เรือรับเชือก และพนักงานในการผูก
และปลดเชือกเรือที่เข้าและออกจากที่จอดเรือ เรียกเก็บตามสถานที่ที่จอดเรือเป็นรายชั่วโมงในอัตราดังนี้
|
บาท / 100 GRT.,GT./ ชั่งโมง
|
|
103.1.
|
เรือลากจูงต่ำกว่า 2,000 แรงม้า
|
|
103.1.1.
|
ท่าเทียบเรือตู้สินค้า
|
9.00
|
103.1.2.
|
ท่าเทียบเรือสินค้าทั่วไป
|
8.00
|
103.2.
|
ณ หลักผูกเรือ
|
6.50
|
103.3.
|
ณ ทุ่น
|
4.50
|
กรณีเรือรับเชือกได้ออกไปปฏิบัติงานที่หลักผูกเรือหรือทุ่นแล้ว ถ้ามีเหตุทำให้ต้องยกเลิก หรือรอ หรือเลื่อนการ ปฏิบัติงานเกินกว่า 2 ชั่วโมง เรียกเก็บค่าบริการเพิ่มขึ้นในอัตราดังนี้
|
บาท / ลำ / ครั้ง
|
|
103.4.
|
หลักผูกเรือคลองเตย
|
750
|
103.5.
|
หลักผูกเรือบางหัวเสือ หรือทุ่น
|
1,500
|
เรือราชการไทย เรือรบต่างประเทศ ไม่ต้องเสียค่าภาระรายการนี้
104. ค่าภาระการใช้ท่าของเรือประเภทอื่น (Berth Hire of Other Craft)
เป็นค่าใช้ที่จอดเรือของท่าเรือกรุงเทพ ในการจอดเรือประเภทอื่นๆ เรียกเก็บจากผู้ขออนุญาต ตามสถานที่ที่ จอดเรือ ในอัตราดังนี้
104.1.
|
เรือลำเลียงจอดเทียบท่าเทียบเรือ นับตั้งแต่เวลาที่จอด
|
1
|
บาท / GRT.,GT./ วัน
|
104.2.
|
ค่าภาระการใช้ท่าของเรือลำเลียงจอดเทียบท่าเทียบเรือขั้นต่ำ
|
250
|
บาท / ลำ / ครั้ง
|
104.3.
|
เรือลำเลียงจอดเทียบเรือ ณ ท่าเทียบเรือ หลักผูกเรือ หรือทุ่น
|
(ยังไม่ประกาศใช้)
|
|
104.4.
|
เรือเติมน้ำมัน เรือเติมน้ำจืด จอดเทียบเรือ ณ ท่าเทียบเรือ หลักผูกเรือหรือทุ่น เพื่อเติมน้ำมันหรือน้ำจืดให้เรือใหญ่
|
500
|
บาท / ลำ / ครั้ง
|
105. ค่าภาระการใช้ท่าของสินค้าทั่วไป (Conventional Cargo Wharfage)
เป็นค่าใช้ท่าในการบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าทั่วไป ลงเรือหรือขึ้นจากเรือที่ท่าเทียบเรือของท่าเรือกรุงเทพ คิด ตามจำนวนตันของสินค้าที่ทำการบรรทุกหรือขนถ่าย
เจ้าของเรือหรือตัวแทนเจ้าของเรือต้องยื่นบัญชีสินค้าสำหรับเรือ (Manifest) ที่สำแดงน้ำหนักและปริมาตรของสินค้าที่ถูกต้อง ภายในเวลากำหนด ตามข้อ 5 ของระเบียบการท่าเรือแห่งประเทศไทย ว่าด้วย การใช้ท่าเรือบริการ และความสะดวกต่างๆ พ.ศ. 2544 หากตรวจพบว่ารายการใดสำแดงน้ำหนักและ ปริมาตราต่ำกว่าความเป็นจริง หรือสำแดงรายการไม่ครบถ้วน อันมีผลทำให้ค่าภาระต่ำกว่าความเป็นจริง จะเรียกเก็บค่าภาระการใช้ท่าของสินค้านั้นเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 50 ของค่าภาระที่ต้องชำระจริง
105.1
|
สินค้าขาเข้า (Import Cargo)
|
บาท / ตัน
|
105.1.1.
|
ขนถ่ายขึ้นท่าเทียบเรือเคลื่อนย้ายไปจนถึงที่เก็บสินค้า
|
4
|
105.1.2.
|
ยานพาหนะที่ทำการขับเคลื่อนขึ้นท่าเทียบเรือเองไปจนถึงที่เก็บสินค้า
|
10
|
105.2.
|
สินค้าขาออก (Export Cargo)
|
|
105.2.1.
|
สินค้าฝากเก็บ ณ ที่เก็บสินค้า (Via Warehouse) บรรทุกลงเรือที่ท่าเทียบเรือ
|
34
|
105.2.2.
|
ณ หลักผูกเรือ ทุ่น หรือที่ทอดสมอ
|
(ยังไม่ประกาศใช้)
|
102.2.3.
|
ยานพาหนะฝากเก็บ ทำการขับเคลื่อนลงเรือที่ท่าเทียบเรือ
|
22
|
105.3.
|
สินค้าผ่านหรือถ่ายลำ (Through or Transshipment Cargo) เรียกเก็บเมื่อขนถ่ายจากเรือ หรือบรรทุกลงเรือ
|
|
105.3.1.
|
วางพักบนท่าไม่เกิน 1 วัน นับจากวันเสร็จสิ้นการขนถ่ายของเรือ
|
25
|
105.3.2.
|
วางพักบนท่าเกิน 1 วัน นับถัดจากวันเสร็จสิ้นการขนถ่ายของเรือ
|
45
|
105.3.3.
|
วางพักบนยานพาหนะทางน้ำ
|
15
|
กรณีวางพักบนท่าได้รับสิทธิไม่ต้องเสียค่าภาระฝากเก็บสินค้า 3 วัน สำหรับสินค้าผ่าน และ 15 วัน สำหรับสินค้าถ่ายลำ นับถัดจากวันเสร็จสิ้นการขนถ่ายของเรือ
สำหรับสินค้าถ่ายลำ ถ้ามิได้ส่งกลับภายในระยะเวลาที่ได้รับสิทธิดังกล่าว จะได้รับสิทธิเพียง 3 วัน เท่ากับสินค้าผ่าน เมื่อพ้นระยะเวลาที่ได้รับสิทธิไม่ต้องเสียค่าภาระฝากเก็บแล้ว จะเรียกเก็บค่าภาระฝากสินค้าผ่านหรือถ่ายลำ ตามหลักเกณฑ์สินค้าขาเข้า ลำดับที่ 204.1
105.4. สินค้าผ่านแดน (In-Transit Cargo)
เรียกเก็บในอัตราค่าภาระการใช้ท่าของสินค้าขาเข้า ลำดับที่ 105.1
106. ค่าภาระเก็บขยะจากเรือ (Garbage Charge)
เป็นค่าเก็บขยะจากเรือที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 750 GRT., GT. ขึ้นไปทุกลำ เรียกเก็บตามสถานที่ที่จอดเรือของท่าเรือกรุงเทพ เป็นรายวันนับตั้งแต่เวลาที่เรือจอดในอัตราดังนี้
|
บาท / ลำ / ครั้ง
|
|
106.1.
|
ณ ท่าเทียบเรือ
|
150
|
106.2.
|
ณ หลักผูกเรือคลองเตย
|
300
|
106.3.
|
ณ หลักผูกเรือบางหัวเสือ ทุ่น หรือที่ทอดสมอ
|
500
|
เรืออื่นจะขอรับบริการเก็บขยะได้ โดยชำระค่าบริการในอัตราที่กำหนดข้างต้น
107. ค่าบริการโทรศัพท์บนเรือ (Telephone Service on Board)
เป็นค่าใช้โทรศัพท์บนเรือที่เทียบท่า เรียกเก็บเป็นรายวันในอัตรา 300 บาท / เครื่อง / วัน
108. ค่าบริการน้ำจืด (Water Supply Service)
108.1.
|
ค่าน้ำจืด เรียกเก็บในอัตรา
|
35
|
บาท/ลูกบาศก์เมตร
|
108.2.
|
ค่าบริการเรือบรรทุกน้ำ ณ สถานที่ต่าง ๆ (Distance Surcharge)
|
||
|
เรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากลำดับที่ 108.1 ตามสถานที่ที่จอดเรือ ดังนี้
|
บาท/เที่ยวปฏิบัติการ
|
|
108.2.1.
|
บริเวณท่าเทียบเรือ หรือหลักผูกเรือคลองเตย
|
825
|
|
108.2.2.
|
บริเวณบางหัวเสือ หรือสาธุประดิษฐ์
|
7500
|
|
108.2.3.
|
บริเวณบางปลากด หรือท้ายบ้าน
|
10500
|
|
108.2.4.
|
บริเวณสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา
|
30000
|
|
108.3.
|
ค่าบริการน้ำจืดอย่างต่ำต่อครั้ง (MINIMUM CHARGE)
|
||
|
ลำดับที่ 108.2.1 - 108.2.3 คิดอย่างต่ำ 50 ลูกบาศก์เมตร
|
||
|
ลำดับที่ 108.2.4 คิดอย่างต่ำ 100 ลูกบาศก์เมตร
|
109. ค่าภาระรองาน (Labour Stand by Charge)
เป็นค่ารองานกรณีที่เจ้าของเรือ หรือตัวแทนเจ้าของเรือได้แจ้งขอ ทำการบรรทุกหรือขนถ่ายสินค้าทั่วไปหรือตู้สินค้า หรือทำการเปิดตู้สินค้านำ สินค้าออกหรือบรรจุเข้าตู้สินค้า LCL แล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตาม เวลาที่กำหนด เกินกว่า 1 ชั่วโมง ไม่ว่ากรณีใดๆ โดยมิใช่ความผิดของท่าเรือ กรุงเทพ เรียกเก็บในอัตรา 2,000 บาท / ครั้ง
110. ค่าธรรมเนียมผู้โดยสารผ่านท่า (Passenger Fee)
เป็นค่าธรรมเนียมผู้โดยสารที่ขึ้นหรือลงเรือ ณ ที่จอดเรือ ของท่า เรือกรุงเทพ เรียกเก็บในอัตรา 50 บาท / คน / เที่ยว
111. ค่าภาระทำความสะอาดท่า (Quay Cleaning Charge)
เป็นค่าทำความสะอาดบริเวณหน้าท่าเรือ เรียกเก็บเป็นรายวัน นับตั้งแต่เวลาที่เรือจอดเทียบท่าในอัตรา