เปลียนการแสดงผล
Boat Service
 




 การท่าเรือฯดำเนินการสำรวจขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำทางเดินเรือและติดตั้งเครื่องหมายช่วยการเดินเรือ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เรือผ่านเข้า-ออกได้อย่างสะดวก ปลอดภัย โดยได้พัฒนางานหลักๆ ได้แก่ งานสำรวจร่องน้ำด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ สถานีรับข้อมูลดาวเทียม (Base Station) มาใช้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อให้ข้อมูลที่สำรวจมีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด ทั้งนี้หากผู้ใช้บริการต้องการทราบระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ถึงบริเวณร่องน้ำสันดอนเจ้าพระยา สามารถขอใช้บริการได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด 

 ส่วนงานขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำทางเดินเรือ ท่าเทียบเรือ แอ่งจอดเรือ และหลักผูกเรือนั้น การท่าเรือฯ ได้จัดหาเรือขุดไว้ถึง 4 ประเภท เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกสภาพ ได้แก่ เรือขุดแบบถังตักดิน (Bucket Dredger) เรือขุดแบบหัวงับดิน (Clam Shell Dredger) เรือขุดแบบตักดิน (Backhoe Dredger) และเรือขุดแบบยุ้งดิน (Trailing Suction Hopper Dredger) ซึ่งประเภทหลังนี้เป็นเรือขุดที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

 เนื่องจากการท่าเรือฯ มีเรือขุดถึง 4 แบบ จึงสามารถขุดหน้าท่าได้ทุกสภาพ ยิ่งไปกว่านั้นเรือขุดของการท่าเรือฯ จะเป็นแบบขุดดินใส่เรือแล้วบรรทุกไปทิ้งบริเวณที่ได้สำรวจแล้วว่าเป็นที่ลึกกระแสน้ำสามารถพัดพาดินไปได้ไกลลักษณะการทิ้งดินไม่ทำให้ฟุ้งกระจาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็สามารถตรวจสอบจำนวนดินที่ขุดอย่างถูกต้อง เพราะสามารถคำนวณได้จากขนาดบรรทุกดินของเรือ 

 นอกจากนี้ การท่าเรือฯ ยังมีบริการสำรวจความลึกของน้ำบริเวณหน้าท่าเทียบเรือ คำนวณดินที่ต้องขุดลอก บริการให้คำปรึกษาในด้านการสำรวจต่างๆ และจัดทำแผนที่แสดงความลึกของน้ำบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง รวมถึงมีความพร้อมรับงาน ได้ทันทีหากมีผู้ประสงค์จะใช้บริการ 

เอกชนรายใดที่ประสงค์จะใช้บริการการสำรวจ และขุดลอกร่องน้ำจากการท่าเรือฯ สามารถติดต่อได้ที่ ฝ่ายการร่องน้ำ ทุกวันเวลาราชการ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2269 5271-2 


 

   

 

ประเภทเรือ

สมรรถวิสัย

จำนวน

(ลำ)

 เรือลากจูง 1,225 - 2,400  แรงม้า 8
 เรือลากจูงขนาดเล็ก 270 - 420  แรงม้า 2
 เรือรับขยะ 160 - 200  แรงม้า 2
 เรือรืบเชือก 115 - 187  แรงม้า 8
 เรือบรรทุกน้ำ 900  แรงม้า 1
 เรือรับรองและตรวจงาน

      (เรือร่องน้ำ 17)

2,000  แรงม้า 1
 เรือสันดอน 2,500  ลูกบาศก์เมตร 3
 เรือขุด 206.47 - 420  เมตริกตัน 3
 เรือดิน 120  ลูกบาศก์เมตร 7
 หมายเหตุ : จำนวนเรือบริการที่ใช้ปฏิบัติงานจริง ณ กันยายน 2550

 

ประเภทเรือ

สมรรถวิสัย

จำนวน

(ลำ)

 เรือจูง 200 - 350  แรงม้า 4
 เรือวางทุ่น 600  แรงม้า 1
 เรือสำรวจ 194.37 - 335.12  แรงม้า 3
 เรือร่องน้ำ 150 - 240  แรงม้า 3
 เรือน้ำ 140  ตัน 1
 เรือโรงงาน 15 - 18  เมตริกตัน 2
 เรือน้ำมัน 21.5  เมตริกตัน 1
 หมายเหตุ : จำนวนเรือบริการที่ใช้ปฏิบัติงานจริง ณ กันยายน 2550

ท่าเรือกรุงเทพจัดเตรียมเรือลากจูงไว้ให้บริการแก่เรือสินค้าที่จะเข้าหรือออกจากท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือเอกชน โดยเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือสามารถขอใช้บริการได้ที่ แผนกท่า กองบริการท่า ท่าเรือกรุงเทพ

 สำหรับเรือสินค้าที่เข้าเทียบท่าเรือกรุง เทพ หลังจากบริษัทฯ ยื่นคำร้องขอนำเรือเข้าท่า ในอาณาบริเวณการท่าเรือฯ (BP01) แล้ว ท่าเรือกรุงเทพจะจัดเตรียมเรือรับเชือก และเรือรับขยะไว้ให้บริการด้วย
 


 

ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (เขื่อนตะวันออก) 
กองท่าบริการตู้สินค้า 1

 

- ข้อมูลทั่วไป

 ท่าเทียบเรือ

  4

ท่า

 
    ท่า 20A 162  เมตร      
    ท่า 20AB 152  เมตร      
    ท่า 20B 183  เมตร      
    ท่า 20C 183  เมตร      
 ความยาวหน้าท่ารวม   680

เมตร

 
 ระดับความลึก  

8.23

เมตร

 
 ขนาดน้ำหนักเรือเทียบท่า 10,000 - 12,000

เดทเวทตัน

 

 

- พื้นที่วางตู้สินค้า

  ลานวางตู้สินค้า

98,600 ตารางเมตร

  ความสามารถในการจัดวางตู้สินค้า

2,812 Ground Slots

  ลานกองเก็บตู้สินค้า Block A, B, C และ D

7,030 ที.อี.ยู.

  ปลั๊กเต้าเสียบตู้สินค้าห้องเย็น

460 จุด

  ด่านตรวจสอบภายในขาเข้า 5 ช่อง
  ด่านตรวจสอบภายในขาออก 3 ช่อง
   
- เครื่องมือทุ่นแรง

  ปั้นจั่นหน้าท่าชนิดเดินบนรางขนาด 32.5 – 40 ตัน

  8 คัน

  รถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้า
 
            แบบ 4+1 ซ้อนตู้ได้ 3 ชั้น 23 คัน

  รถหัวลากพ่วงตู้สินค้า

59 คัน

  รถพ่วงบรรทุกตู้สินค้า

59 คัน

   
- ระบบคอมพิวเตอร์บริการ

  COMPUTER IBM RISC 6000

1 หน่วย

  SOFTWARE "M.E.S" SYSTEM 1 หน่วย
   
- การให้บริการ

  ให้บริการ  ตลอด 24 ชั่วโมง, 7 วันต่อสัปดาห์

 
  ศุลกากรประจำหน่วยงานให้บริการ  

 

 

กองท่าบริการตู้สินค้า 2

 

- ข้อมูลทั่วไป

 ท่าเทียบเรือ

  4

ท่า

 
    ท่า 20D 183  เมตร      
    ท่า 20E 183  เมตร      
    ท่า 20F 183  เมตร      
    ท่า 20G 91.5  เมตร      
 ความยาวหน้าท่ารวม   640.5

เมตร

 
 ระดับความลึก  

8.23

เมตร

 
 ขนาดน้ำหนักเรือเทียบท่า 10,000 - 12,000

เดทเวทตัน

 

 

- พื้นที่วางตู้สินค้า

  ลานวางตู้สินค้า

49,000 ตารางเมตร

  ความสามารถในการจัดวางตู้สินค้า

1,554 Ground Slots

  ลานกองเก็บตู้สินค้า Block E, F, G และ H

4,446 ที.อี.ยู.

  ปลั๊กเต้าเสียบตู้สินค้าห้องเย็น

180 จุด

  ด่านตรวจสอบภายในขาเข้า 4 ช่อง
  ด่านตรวจสอบภายในขาออก 3 ช่อง
   
- เครื่องมือทุ่นแรง

  ปั้นจั่นหน้าท่าชนิดเดินบนรางขนาด 32.5 – 40 ตัน

  6 คัน

  รถคานเคลื่อนที่ยกตู้สินค้า
13 คัน
            แบบ 4+1 ซ้อนตู้ได้ 3 ชั้น 5 คัน  
            แบบ 6+1 ซ้อนตู้ได้ 4 ชั้น 8 คัน  

  รถหัวลากพ่วงตู้สินค้า

47 คัน

  รถพ่วงบรรทุกตู้สินค้า

47 คัน

   
- ระบบคอมพิวเตอร์บริการ

  COMPUTER IBM RISC 6000

1 หน่วย

  SOFTWARE "M.E.S" SYSTEM 1 หน่วย
   
- การให้บริการ

  ให้บริการ  ตลอด 24 ชั่วโมง, 7 วันต่อสัปดาห์

 
  ศุลกากรประจำหน่วยงานให้บริการ  


ท่าเทียบเรือตู้สินค้า (เขื่อนตะวันตก)

ท่าเทียบเรือ / หลัก / ทุ่น

ความยาว

(เมตร)

จำนวน

ขนาดจำกัดของเรือ

ความยาว / กินน้ำลึก

(เมตร)

สมรรถ-

วิสัย

(ลำ)

  ท่าเทียบเรือเขื่อน-

     ตะวันตก (ท่า 22A,

     22B-22J)

1,660

10

ท่า

172.25 / 8.23

10

  หลักผูกเรือกลางน้ำ-

     คลองเตย

1,400

36

หลัก

172.25 / 8.23

7

  หลักผูกเรือกลางน้ำ-

     บางหัวเสือ

1,600

25

หลัก

172.25 / 8.23

8

  ทุ่นผูกเรือสาธุประดิษฐ์

 

5 ทุ่น

137.19 / 7.62

3

     

121.95 / 7.62

1
      94.46 / 7.62 1
 

ท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงภายในประเทศ

    

          การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้เปิดให้บริการท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงภายในประเทศ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากระบบถนนมาสู่ระบบรางและทางน้ำ ที่มีต้นทุนโดยรวมต่ำ ประหยัดพลังงาน และลดปัญหาการจราจรทางบก

พื้นที่ให้บริการ
- ท่าเทียบเรือ
          ท่าเทียบเรือบริเวณโรงพักสินค้า 1 และ 2 ท่าเรือกรุงเทพ โดยมีความลึกหน้าท่าเฉลี่ยประมาณ 8 - 9 เมตร ความยาวหน้าท่า 400 เมตร สามารถให้บริการเรือสินค้าขนาด 12,000 เดดเวทตัน 
- พื้นที่ 
          พื้นที่หลังท่าสำหรับวางสินค้ารวมทั้งสิ้น 17,000 ตารางเมตร สามารถรองรับสินค้าที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2 ตันต่อตารางเมตร
- โรงพักสินค้า
           โรงพักสินค้า 1 และ 2 มีพื้นที่ภายในรวม 12,000 ตารางเมตร สามารถรองรับน้ำหนักสินค้าได้โดยเฉลี่ย 2.7 ตันต่อตารางเมตร
           พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับให้บริการ ได้แก่ รถยก รถปั้นจั่นเคลื่อนที่ รถหัวลาก - รถหางลาก และรถบรรทุก ฯลฯ 


รูปแบบการให้บริการ
          • ให้บริการเกี่ยวกับสินค้าทั่วไป ตู้สินค้า และสินค้าจากเรือ Ro / Ro 
          • ให้บริการเรือชายฝั่ง และเรือลำเลียงภายในประเทศจอดขนถ่ายและขนส่งสินค้า 
          • ให้บริการโรงพักสินค้านอกเขตรั้วศุลกากร รับฝากเก็บสินค้าทั้งในโรงพักสินค้า และกลางแจ้ง 
          • ให้บริการขนส่งตู้สินค้าระหว่างท่าเรือกรุงเทพ – ท่าเรือแหลมฉบัง ประจำสัปดาห์ ละ 2 วัน คือ วันอาทิตย์และวันพุธ 


ประโยชน์ที่จะได้รับ
          เพิ่มทางเลือกให้กับผู้นำเข้าและผู้ส่งออกที่จะขนส่งสินค้าทางน้ำ ซึ่งประหยัดกว่าการขนส่งทางถนนที่มีต้นทุนสูงกว่า 
          ผู้นำเข้า-ส่งออกสามารถนำตู้สินค้า และสินค้ามาวางพักในพื้นที่ได้ 10 วันโดยไม่เสียค่าภาระฝากเก็บ 
          มีความสะดวกในการใช้บริการ เนื่องจากพื้นที่อยู่นอกเขตรั้วศุลกากร

ขั้นตอนการขอใช้บริการ 
          ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ท่าเทียบเรือชายฝั่งและเรือลำเลียงภายในประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2269-3264 และ 0-2269-3805


ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว
          ท่าเรือกรุงเทพได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณท่าเทียบเรือ OB เป็นท่าเทียบเรือเฉพาะ สำหรับเรือท่องเที่ยวทั้งในและจากต่างประเทศ ที่มีทั้งความสะดวก สะอาด ปลอดภัย และสวยงาม เพื่ออำนวยความสะดวกในการต้อนรับเรือท่องเที่ยว และสนับสนุน นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล

          นอกจากนี้ท่าเรือกรุงเทพยังได้ปรับปรุงชั้นล่างตึก OB ให้เป็นห้องรับรองนักท่องเที่ยว โดยการให้เอกชนเช่าพื้นที่เพื่อเปิดเป็นคูหาให้บริการนักท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งอนุญาตให้บริษัทตัวแทนเรือ นำยานพาหนะต่างๆ เข้ามาให้บริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย 
          ผู้สนใจสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2269 3937
 
 

ในการนำเรือเข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพนั้น บริษัทเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือ จะต้องวางเงินประกันพร้อมยื่นคำร้องขอนำเรือเข้าท่าในอาณาบริเวณการท่าเรือฯ ณ ท่าเรือกรุงเทพ BP01 (Application for Vessel Entering the Port Area) ที่แผนกท่า กองบริการท่า 

หลักเกณฑ์การจัดเรือเข้าเทียบท่า 

 คณะกรรมการจัดเรือของท่าเรือกรุงเทพ  จัดเรือเข้าจอดท่าเทียบเรือตามเวลาที่เรือลำนั้นๆ ถึงสันดอนเจ้าพระยาก่อนเป็นหลัก (First Come First Serve)  โดยพิจารณาการแจ้งแผนกสื่อสารหรือติดต่อผ่านทางโทรสาร (Fax), วิทยุโทรพิมพ์ (Telex), จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรืออินเทอร์เน็ต (Internet) ที่ส่งมายังแผนกสื่อสาร  ซึ่งคณะกรรมการฯ จะประชุมจัดเรือร่วมกับเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือ ทุกวันในเวลา 10.00 น. เพื่อพิจารณาเรือเข้าเทียบท่า ดังนี้ 
 1. ท่าเทียบเรือเขื่อนตะวันออก (20A-20 F) การท่าเรือฯ พิจารณาให้เรือสินค้าเข้าเทียบ ตามลำดับดังนี้ 
 1.1. เรือที่มีขนาดตามที่ กทท.กำหนด จะจัดให้เข้าจอดท่าเทียบเรือเป็นลำดับแรก 
 1.2. เรือที่มีขนาดเกินกว่าที่ กทท.กำหนด หากมาถึงสันดอนเจ้าพระยา พร้อมกับเรือตามข้อ 1.1 ให้ เรือตามข้อ 1.1 เข้าจอดเทียบท่าก่อน

                           1.3. เรือที่มีขนาดตามข้อ 1.2 มาถึงพร้อมกันให้อยู่ในดุลพินิจของ คณะกรรมการฯ

 2. ท่าเทียบเรือเขื่อนตะวันตก (22A-22J) การท่าเรือฯ พิจารณาให้เรือสินค้าเข้าเทียบ ามลำดับดังนี้ 
 2.1. เรือที่มีสินค้าขนขึ้นบก (Landing Cargo) มีสิทธิเข้าจอดเทียบท่าเป็นลำดับแรก

                            2.2. เรือที่มีสินค้าขนถ่ายข้างลำ (Overside Cargo) มีสิทธิเข้าจอดเทียบท่าเป็นลำดับถัดจากข้อ 1.1

                            2.3 เรือที่บรรทุกสินค้าขาออก (Loading Cargo) มีสิทธิเข้าจอดเทียบท่าเป็นลำดับถัดจากข้อ 1.2


 3. หลักผูกเรือกลางน้ำและทุ่นผูกเรือ การท่าเรือฯพิจารณาให้เรือสินค้าเข้าเทียบตามลำดับ ดังนี้ 
3.1. เรือย้ายจากท่าได้รับสิทธิเป็นอันดับแรก 
3.2. เรือที่ทำการขนถ่ายสินค้าข้างลำ (Overside) ได้รับสิทธิในลำดับถัดมา โดยพิจารณา ตามลำดับการเดินทางมาถึงบริเวณสันดอนเจ้าพระยาก่อน-หลัง เรือมาถึงก่อนมีสิทธิก่อน 
3.3. เรือที่ทำการบรรทุกสินค้า (Loading) ได้รับสิทธิในลำดับถัดมา โดยพิจารณาตามลำดับ การเดินทางมาถึงบริเวณสันดอนเจ้าพระยาก่อน-หลัง เรือมาถึงก่อนมีสิทธิก่อน 





 การท่าเรือฯกำหนดให้เจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือที่ประสงค์จะนำเรือเข้าเทียบท่าท่าเรือกรุงเทพ ปฏิบัติดังนี้ 

1. ก่อนวันที่ 15 ของทุกเดือน ต้องส่งตารางการใช้ท่าประจำเดือนถัดไปตามแบบที่ท่าเรือกรุงเทพกำหนด 
2. ก่อนเรือเทียบท่าให้จัดส่งข้อมูลโดยระบบ EDI ดังนี้ 
2.1. จัดส่งข้อมูลบัญชีตู้สินค้าขาเข้า (Inward Container List) ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงก่อนเรือเทียบท่า และมี รายการ Ship Stowage Position, Sequence List, หมายเลข B/L (เฉพาะตู้สินค้า FCL) 
2.2. จัดส่งข้อมูลบัญชีสินค้าขาเข้า (Inward Cargo Manifest) ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงก่อนเรือเทียบท่า 
3. ให้ยื่นใบแจ้งขอปฏิบัติงานตู้สินค้าพร้อมกับมาร่วมวางแผนล่วงหน้า (Pre-planning) กับท่าบริการตู้สินค้าเพื่อกำหนดชั่วโมงการปฏิบัติงาน การจัดพื้นที่กองเก็บตู้สินค้าและจัดเครื่องมือทุ่นแรงทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุด)

 



ไฟฟ้า 
 การท่าเรือฯซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง เพื่อใช้ในกิจการของการท่าเรือฯ และให้บริการกับผู้ใช้บริการ โดยผู้ประสงค์จะขอใช้บริการให้ยื่นเรื่อง ขอใช้ไฟฟ้าต่อแผนกบริการไฟฟ้า และชำระเงินค้ำประกันและค่าธรรมเนียมต่างๆ ตามที่การท่าเรือฯกำหนด 

ประปา 
การท่าเรือฯได้จัดเตรียมน้ำประปาไว้ให้ในกรณีที่เรือต้องการใช้บริการ บริษัทเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือสามารถยื่นแบบฟอร์มการขอน้ำ BP04 (Application for Service) ที่แผนกท่า กองบริการท่าได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งโทรสารมาที่ หมายเลข 026727159 โดยการจ่ายน้ำนั้นสามารถทำได้ 2 ทาง คือ 
 1. ทางบกโดยใช้เครื่องยนต์สูบน้ำ ซึ่งเป็นหน้าที่ของหมวดบริการหน้าท่า แผนกท่า กองบริการท่า จ่ายให้กับเรือสินค้า ที่จอดเทียบท่าเขื่อนตะวันตก 
 2. โดยเรือบรรทุกน้ำ ซึ่งจะให้บริการแก่เรือที่จอดตามสถานที่ต่างๆ 

โทรศัพท์ 
การท่าเรือฯให้บริการและบำรุงรักษาเครื่องพูดข่ายสายพร้อมอุปกรณ์โทรศัพท์ แก่ผู้ใช้บริการและเรือที่มาจอดเทียบท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพ โดยบริษัทเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือ สามารถยื่นแบบฟอร์มขอใช้โทรศัพท์ BP04 (Application for Service) ที่แผนกท่า กองบริการท่าได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือส่งโทรสารมาที่หมายเลข 0 2672 7159 จากนั้นแผนกท่าจะส่งข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ มายังแผนกช่างโทรศัพท์ ซึ่งจะดำเนินการติดตั้งโทรศัพท์ให้ตามวันและเวลาที่แจ้งมา 

บริการกำจัดของเสีย 
ท่าเรือกรุงเทพมีบริการจัดเก็บขยะจากเรือสินค้าที่จอดบรรทุกขนถ่ายสินค้าในเขตท่าเรือกรุงเทพทั้งที่ท่าเทียบเรือ หลักผูกเรือ และทุ่นผูกเรือ

การส่งเสบียงเรือ 
บริษัทเจ้าของหรือตัวแทนเจ้าของเรือสามารถจัดหาผู้จัดส่งเสบียงและของใช้ให้แก่เรือเองได้ หรือใช้บริการของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้กับการท่าเรือฯ