เปลียนการแสดงผล
ส่วนที่ 2
ส่วนที่ 2 ค่าภาระและค่าบริการเรียกเก็บจากผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออก
 
201. ค่าภาระยกขนสินค้า (Wharf Handling Charge)
 
เป็นค่ายกขนสินค้าทั่วไปขาเข้า จากที่เก็บสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้นำเข้า ณ ที่เก็บสินค้านั้น  หรือเป็นค่าใช้ท่า ในการยกขนสินค้าทั่วไปขาออก ที่นำผ่านท่าเข้าเขตศุลกากรทางบก หรือทางน้ำ จนถึงที่เก็บสินค้า เพื่อบรรทุกลงเรือ หรือบรรจุเข้าตู้สินค้า LCL เรียกเก็บในอัตราดังนี้
201.1. สินค้าขาเข้า (Import Cargo)
80  บาท / ตัน
201.2. สินค้าขาออก (Export Cargo)
201.2.1. นำผ่านท่าเข้าเขตศุลกากรทางบก
 
201.2.1.1. ทางรถยนต์
บาท / คัน
1.)  รถบรรทุกขนาดไม่เกิน 1.1 ตัน
50
2.)  รถบรรทุก 4 ล้อ
150
3.)  รถบรรทุก 6 ล้อ
300
4.)  รถบรรทุก 8-10 ล้อ
400
5.)  รถเทรลเลอร์
850
201.2.1.2. ทางรถไฟ
บาท / ตู้
1.)  ตู้รถไฟ 4 ล้อ
300
2.)  ตู้รถไฟ 8 ล้อ
600
201.2.2. นำผ่านท่าเข้าเขตศุลกากรทางน้ำ
26   บาท / ตัน
 
 
202. ค่าภาระยกขนสินค้าเพิ่มเติม (Additional Wharf Handling Charge)
 
 
บาท / ตัน
202.1. สินค้าขาเข้าที่นำออกมายังที่ตรวจปล่อย แล้วขนกลับไว้ในที่เก็บ
           สินค้าและขนออกมาตรวจปล่อยอีกครั้ง หรือเพื่อส่งมอบ หรือสินค้าขาเข้า
           ส่งกลับ (Re-export) เรียกเก็บเพิ่มขึ้นอีก
26
202.2. สินค้าขาเข้าที่มิได้นำออกนอกเขตศุลกากร เกินกว่า 30 วัน นับถัดจาก
          วันเสร็จสิ้นการขนถ่ายของเรือ เรียกเก็บเพิ่มขึ้นอีก
26
202.2. สินค้าทัณฑ์บนที่ส่งมอบให้แก่เจ้าของสินค้า เรียกเก็บเพิ่มขึ้นอีก
35
 
 
203. ค่าภาระแรงงานพิเศษ (Extra Labour Charge)
 
 
บาท / ตัน
เป็นค่าแรงงานและสถานที่ เพื่อดำเนินการอย่างอื่นเกี่ยวกับสินค้า
นอกเหนือจากการยกขนสินค้า ตามลำดับที่ 201 และ 204 (เช่น ปิดฉลาก
ปิดอากรแสตมป์ มัดลวดตีตรา คัดแยกสินค้า ฯลฯ) เรียกเก็บในอัตราดังนี้
15
 
 
204. ค่าภาระฝากสินค้า (Cargo Storage)
 
ค่าภาระฝากสินค้า ขั้นต่ำ
20   บาท
204.1. สินค้าขาเข้า (Import Cargo)
 
เป็นค่าเก็บรักษาสินค้าทั่วไปและสินค้าระบบตู้สินค้า LCL ที่มิได้นำออกนอกเขตศุลกากร  ได้รับสิทธิไม่ต้องเสีย ค่าภาระฝากสินค้า 3 วัน  นับถัดจากวันเสร็จสิ้นการขนถ่ายของเรือ สำหรับสินค้าอันตรายหรือสินค้าวัตถุไวไฟ ที่มีจุดวาบไฟ 61 C หรือ 141 F หรือต่ำกว่า ได้รับสิทธิไม่ต้องเสียค่าภาระฝากสินค้า 1 วันนับถัดจากวันเสร็จสิ้นการขนถ่ายของสินค้ารายนั้น ๆ เมื่อพ้นระยะเวลาที่ได้รับสิทธิดังกล่าว จะเรียกเก็บเป็นรายวันในอัตราดังนี้
 
    บาท / ตัน / วัน
ระยะเวลาฝากสินค้า (วัน)
1-7    8-14    ตั้งแต่ 15
204.1.1. สินค้าทั่วไป
  5       10          15
204.1.2. ยานพาหนะที่ไม่บรรจุหีบห่อ
10       20          30
204.1.3. สินค้าอันตราย สินค้าวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ ที่มีจุดวาบไฟ 61 C หรือ 141 F หรือต่ำกว่า
15       30          45
 
204.2. สินค้ามีค่า (Valuable Cargo)
 
เป็นค่าเก็บรักษาสินค้ามีค่าทั้งที่อยู่นอกหรือในตู้สินค้า เรียกเก็บเป็นรายวัน นับถัดจากวันเสร็จสิ้นการขนถ่าย ของสินค้านั้นๆ ในอัตราร้อยละ 1 ของมูลค่าของสินค้านั้น
 
204.3. สินค้าทัณฑ์บน (Bonded Cargo)
 
เรียกเก็บเป็นรายวัน นับตั้งแต่วันนำเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนในอัตราดังนี้
ระยะเวลาฝากสินค้า (วัน)
บาท / ตัน / วัน
                                  1 - 90
                               91 - 180
                              ตั้งแต่ 181  
         5
        10
        15
 
204.4. สินค้าขายทอดตลาด (Auction Cargo)
 
ได้รับสิทธิไม่ต้องเสียค่าภาระฝากสินค้า 3 วัน นับถัดจากวันที่ศุลกากร  หรือการท่าเรือแห่งประเทศไทยขายทอดตลาด เมื่อพ้นระยะเวลาที่ได้รับสิทธิดังกล่าว  จะเรียกเก็บเป็นรายวัน ในอัตราค่าภาระฝากสินค้าขาเข้า ลำดับที่ 204.1
 
204.5. สินค้าผ่านแดน (In-Transit Cargo)
 
เป็นการเรียกเก็บค่าภาระฝากสินค้าผ่านแดน ทั้งที่อยู่นอกหรือในที่เก็บสินค้า  เรียกเก็บตั้งแต่วันเสร็จสิ้นการ ขนถ่ายของเรือในอัตราดังนี้
 
ระยะเวลาฝากสินค้า (วัน)
บาท / เมตริกตัน
1  -  60
61 - 90
       10
       20
นับตั้งแต่วันที่ 91 เป็นต้นไปเรียกเก็บเป็นรายวันในอัตราค่าภาระฝากสินค้าขาเข้าลำดับที่ 204.1 โดยเริ่มนับ วันที่ 91 เป็นวันเริ่มต้น
 
 204.6. สินค้าขาออก (Export Cargo)
เป็นค่าเก็บรักษาสินค้าทั่วไป ที่ยังมิได้บรรทุกลงเรือหรือบรรจุเข้าตู้สินค้า LCL ได้รับสิทธิโดยไม่ต้องเสียค่าภาระฝากสินค้า 3 วัน นับถัด จากวันนำผ่านท่าเข้าเขตศุลกากรทางบกหรือทางน้ำ เมื่อพ้นระยะเวลาที่ได้รับสิทธิดังกล่าว  จะเรียกเก็บเป็นรายวันในอัตรา
5      บาท / ตัน / วัน
 
 
205. ค่าภาระควบคุมอัคคีภัย (Fire Control Charge)
 
เป็นค่าควบคุมความปลอดภัยจากอัคคีภัย ในการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือการขับเคลื่อนยานพาหนะขาเข้าทุกคัน ภายในเขตศุลกากรเรียกเก็บในอัตรา
100  บาท / คัน
หากเกิดอัคคีภัยซึ่งมิใช่ความผิดของพนักงาน เจ้าของยานพาหนะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น.
 
 
206. ค่าภาระสินค้า (Cargo Dues)
 
เรียกเก็บเป็นค่าบำรุงรักษาร่องน้ำสันดอนเจ้าพระยา จากจำนวนตันของสินค้าขาเข้า ซึ่งบรรทุกมากับเรือที่ แล่นผ่านร่องน้ำสันดอนเจ้าพระยาเข้ามาโดยตรง หรือสินค้าขาเข้าที่ทำการขนถ่ายลงเรือลำเลียง หรือเรือฉลอมบริเวณ เกาะสีชังหรือที่อื่น ทำพิธีการศุลกากรที่ด่านแหลมฉบัง ท่าเรือแหลมฉบัง  และนำเรือลำเลียงหรือเรือฉลอมพร้อมทั้งสินค้านั้น ผ่านร่องน้ำสันดอนเจ้าพระยา เพื่อไปทำการขนถ่ายหรือส่งมอบ ณ ท่าเรือเอกชนหรือท่าเรืออนุญาตที่ตั้งอยู่ภายในหรือภายนอกอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพ
 
ทั้งนี้  ผู้นำเข้าหรือเจ้าของสินค้าเฉพาะราย  ที่ทำการขนถ่ายที่เกาะสีชังหรือที่อื่น ต้องแจ้งรายละเอียดของสินค้าและเส้นทางของเรือ  เรือลำเลียงหรือเรือฉลอม ที่บรรทุกสินค้าแล่นผ่านไปยังปลายทาง เรียกเก็บในอัตราดังนี้
ณ ท่าเรือเอกชน
บาท / ตัน
206.1. ขนถ่ายขึ้นท่าเทียบเรือหรือขนถ่ายข้างลำ
15
206.2. ขนถ่ายน้ำมันดิบหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
 
206.2.1. บรรจุภาชนะ (หน่วยขนส่ง)
20
206.2.2. บรรจุ Tanker
0.50
ณ ท่าเรืออนุญาต
บาท / เมตริกตัน
206.3. ขนถ่ายขึ้นท่าเทียบเรือหรือขนถ่ายข้างลำ 17.50
สินค้าทั่วไปหรือสินค้าในระบบตู้สินค้า
 
(เรียกเก็บจากผู้ประกอบการท่าเรืออนุญาต)
 
 
 
207. ค่าภาระสินค้าขนถ่ายข้างลำ (Overside Cargo Charge)
 
เรียกเก็บตามจำนวนตันจากสินค้าขาเข้า ที่ได้รับอนุญาตจากกรมศุลกากรให้ทำการขนถ่ายข้างลำส่งมอบโดย ตรง เป็นค่าใช้หลักผูกเรือทุ่น ที่ทอดสมอ หรือท่าเทียบเรือ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าข้างลำเพื่อส่ง มอบให้แก่ผู้นำเข้า เรียกเก็บในอัตราดังนี้
ณ ที่จอดเรือท่าเรือกรุงเทพ
บาท / ตัน
207.1. สินค้าขนถ่ายข้างลำ ลงยานพาหนะทางบก ณ ท่าเทียบเรือ
39
207.2. สินค้าขนถ่ายข้างลำ ลงยานพาหนะทางน้ำ หรือลงน้ำ
34
 
สินค้าใดที่กรมศุลกากรไม่อนุญาตให้ทำพิธีการขนถ่ายข้างลำ แต่อนุญาตให้ขนลงเรือฉลอมหรือยานพาหนะทางน้ำ เพื่อนำสินค้าไปตรวจปล่อยนอกสถานที่ เรียกเก็บตามอัตราค่าภาระยกขนสินค้าขาเข้าลำดับที่ 201.1 แต่ไม่ต้องเสียค่าภาระฝากสินค้า
 
กรณีมีเหตุจำเป็นต้องนำสินค้าขนถ่ายข้างลำวางพักบนท่าเทียบเรือเป็นการชั่วคราว ให้เรียกเก็บค่าภาระการใช้ ท่าของสินค้า ลำดับที่ 105.1 เฉพาะจำนวนที่วางพักบนท่าจากผู้นำเข้า หากวางพักไว้พ้นระยะเวลาที่ได้รับสิทธิไม่ต้องเสียค่าภาระฝากสินค้าให้เรียกเก็บค่าภาระฝากสินค้าขาเข้า ลำดับที่ 204.1