เปลียนการแสดงผล
ข้อมูลทั่วไป

ร่องน้ำสันดอนท่าเรือกรุงเทพมีความยาว 18 กิโลเมตร ความกว้างร่องน้ำในทางตรง 150 เมตร และความกว้างร่องน้ำในทางโค้ง 250 เมตร ร่องน้ำดังกล่าวได้รับการบำรุงรักษาให้คงความลึกที่ 8.5 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง  ในส่วนของแม่น้ำบริเวณท่าเรือกรุงเทพ จะมีความลึกระหว่าง 8.5 - 11 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง

 

            การบริการขุดลอกร่องน้ำ

            ในปี 2550 ได้ดำเนินการขุดลอกบำรุงรักษาและสำรวจร่องน้ำในเขตท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง โดยขุดดินได้รวมทั้งสิ้น 2,397,860 ลูกบาศก์เมตร  สำหรับท่าเอกชนได้ดำเนินการขุดลอกตามคำขอใช้บริการ เพื่อให้เรือผ่านเข้า-ออกได้สะดวกและปลอดภัย  ตลอดจนการสำรวจร่องน้ำในอาณาบริเวณท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง  พร้อมทั้งบำรุงรักษาเครื่องหมายทางเดินเรือ เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินเรือ





เรือเดินสมุทรทุกลำที่แล่นผ่านสัดดอนปากน้ำเจ้าพระยาจะเข้าเทียบท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพ จะต้องรับเจ้าพนักงานนำร่องของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ซึ่งตั้งอยู่ ณ ละติจูด 13° 26' เหนือ ลองจิจูด 100° 35' ตะวันออก




สถานีวิทยุสื่อสารตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 13° 42' 30" เหนือ ลองจิจูดที่ 100° 35' 58" ตะวันออก โดยใช้สัญญาณเรียกขาน "การท่าเรือ" หรือ "Bangkok Port Control"
ก่อนนำเรือเข้าเทียบท่าบริเวณท่าเรือกรุงเทพ เจ้าหน้าที่เรือจะต้องแจ้งข้อมูลให้กับพนักงานการท่าเรือฯ ทางโทรพิมพ์ (Telex) หมายเลข 72331 PAT TH หรือโทรสารหมายเลข +66 2249 0885 และ +66 2672 7156 ไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนถึงสถานีนำร่อง

          โดยข้อมูลประกอบด้วย
- ชื่อเรือและสัญชาติ
- ท่าสุดท้ายที่เรือออกเดินทาง (Departure)
- วัน เวลา ถึงสถานีนำร่อง กรุงเทพ (Estimated Time of Arrival)

 



เนื่องจากท่าเรือกรุงเทพมีข้อจำกัดด้านร่องน้ำ ทำให้เรือที่จะผ่านเข้ามายังท่า หรือที่จอดเรือของท่าเรือกรุงเทพจะต้องมีขนาดไม่เกิน 12,000 เดเวทตัน ยาวไม่เกิน 172 เมตร และกินน้ำลึกไม่เกิน 8.2 เมตร

*********